สรุปการออกแบบเมืองอัจฉริยะ

20 พ.ย. 2560 พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
เป็นประธานสัมมนา “สรุปผลโครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ
(Smart Cities-Clean Energy)” พร้อมปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ก้าวต่อไปของการพัฒนา
เมืองอัจฉริยะในประเทศไทย” และในโอกาสนี้ ผศ.ดร.จิตติศักดิ์ ธรรมาภรณ์พิลาศ
ผู้ช่วยอธิการบดีจุฬาฯ ร่วมนำเสนอโครงการเมืองจุฬาฯ อัจฉริยะ ร่วมกับอีก 5 โครงการ
ที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย ณ โรงแรมคอนราด กรุงเทพมหานคร
สำหรับโครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities-Clean Energy)
ได้รับสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบาย
และแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน มีสถาบันอาคารเขียวไทย
เป็นผู้ดำเนินโครงการ เพื่อกระตุ้นและสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงาน
ส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัย และองค์กรเอกชน ร่วมออกแบบและพัฒนาเมือง
หรือโครงการในลักษณะชุมชนเมืองไปสู่เมืองอัจฉริยะ โดยคัดเลือกจากโครงการ
ที่เข้าร่วม 36 โครงการ ก่อนจะคัดเลือกตามแผนงานจนเหลือ 6 โครงการ ที่จะได้รับ
การสนับสนุนเงินทุนในขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งเป็นโครงการที่มีความพร้อมที่จะพัฒนา
และดำเนินโครงการให้สำเร็จ ได้อย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด ประกอบด้วย

1. โครงการ นิด้า : มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ รู้รักษ์พลังงาน สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
2. โครงการ มช. (เมือง) มหาวิทยาลัยอัจฉริยะพลังงานสะอาด
3. โครงการ เมืองจุฬาฯ อัจฉริยะ
4. โครงการ ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต : ต้นแบบเมืองมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ
5. โครงการ วิสซ์ดอม วัน-โอ-วัน
6. โครงการ ขอนแก่น Smart City (ระยะที่ ๑) : ขนส่งสาธารณะเปลี่ยนเมือง

ทั้งนี้ การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ จะช่วยลดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหามลภาวะ
ทางอากาศ น้ำเสีย ขยะ การระบายน้ำ ช่วยส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ดี คุณภาพอากาศที่ดี
เพิ่มพื้นที่สีเขียว สนับสนุนให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริม
ให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมเชิง สร้างสรรค์ ตลอดจนจะเป็นการบ่มเพาะ
ให้เกิดการพัฒนาธุรกิจใหม่ได้ในอนาคต

Start typing and press Enter to search