ถนนคนเดิน BANGKOK WALKING STREET บรรทัดทอง ต้นแบบถนนแห่งความสุขเพื่อคนไทยทุกคน ได้รับเสียงตอบรับจากคนมาใช้พื้นที่อย่างคึกคัก
PMCU และกรุงเทพมหานครโดย ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร […]
แนวคิดในการพัฒนาพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ โดยมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นย่านแห่งนวัตกรรมที่สร้างสรรค์คุณค่าแก่ชุมชนและสังคม ผสานคุณภาพชีวิตและธุรกิจ มุ่งหวังให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการดำรงชีวิตที่ดีของคนทุกเพศทุกวัยอย่างยั่งยืน
เราเชื่อว่าการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของคนเมืองในปัจจุบัน คือการได้ใช้ชีวิตอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติและพื้นที่สีเขียว จึงมีนโยบายในการพัฒนาพื้นที่สีเขียวสำหรับทุกคนในชุมชน ให้เป็นพื้นที่สีเขียวที่ใคร ๆ ก็สามารถเข้าถึงได้ และต้องการสร้างอากาศบริสุทธิ์ โดยมีการเพิ่มสัดส่วนของพื้นที่สีเขียวให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยจากสถิติในปี 2563 พื้นที่สีเขียวของจุฬาฯ และพื้นที่โดยรอบของย่าน มีพื้นที่สีเขียวในอัตราส่วน 1 คน ต่อ 11 ตร.ม. ซึ่งมากกว่าเกณฑ์มาตรฐานของ WHO ที่กำหนดให้มีพื้นที่สีเขียวในอัตรา 1 คน ต่อ 9 ตร.ม. นอกจากนั้นยังมีการเพิ่มจำนวนต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ (BIG TREE) ในพื้นที่ ให้มีมากยิ่งขึ้น โดยในปี 2563 พื้นที่จุฬาฯ มีต้นไม้ขนาดใหญ่จำนวนมากกว่า 1,000 ต้น และจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเราได้เล็งเห็นความสำคัญต่อระบบนิเวศของต้นไม้ใหญ่ ซึ่งนอกจากจะให้ร่มเงาแก่พื้นที่ได้เป็นอย่างมากแล้ว ต้นไม้ใหญ่ยังสามารถที่จะเก็บกักคาร์บอนได้ในปริมาณมหาศาลเมื่อเทียบกับต้นไม้ขนาดเล็ก จึงมีส่วนช่วยในการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและลดโลกร้อนได้เป็นอย่างดี จึงไม่แปลกที่เมื่อก้าวเข้ามาในพื้นที่ภายในย่านของจุฬาฯ แล้วรู้สึกได้ถึงพื้นที่สีเขียวอันร่มรื่น
สวนสาธารณะของย่านที่โดดเด่นเป็นเสมือนแลนมาร์คแห่งพื้นที่สีเขียวใจกลางเมืองอีกแห่งคือ อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ บนพื้นที่สีเขียว กว่า 29 ไร่ เป็นพื้นที่สีเขียวที่สร้างเป็นของขวัญให้สำหรับคนทุกเพศทุกวัย ได้เข้ามาสูดอากาศบริสุทธิ์ใกล้ชิดกับธรรมชาติ และยังสามารถเข้ามาร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นเพื่อชุมชน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรรมด้านกีฬา ดนตรี และศิลปวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ มากมายตลอดทั้งปี เพื่อเป็นการสร้างโอกาสในการเข้าถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีคุณค่าแก่คนในชุมชนอย่างหลากหลายอีกด้วย นอกจากนั้นยังมีสวน PARK @ SIAM ซึ่งเป็นสวนขนาดย่อม 5.2ไร่ ที่ตั้งอยู่ใจกลางแหล่งช้อปปิ้งสยามสแควร์ เป็นอีกหนึ่งปอดกลางเมืองอันเขียวขจี ที่สามารถเดินทางเข้าถึงได้อย่างสะดวกง่ายดาย ผ่านระบบขนส่งสาธารณะ ตอบโจทย์ทุกการพักผ่อนของคนเมืองได้อย่างแท้จริง
ในยุคที่เราต้องเผชิญกับภาวะอากาศเป็นพิษจากฝุ่นควันต่าง ๆ การใส่ใจในคุณภาพของอากาศจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขั้นพื้นฐานแก่ทุกคนในชุมชน เราจึงมีนโยบายต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการสร้างอากาศที่ดีหลากหลายโครงการ โดยหนึ่งในนั้นคือนโยบายส่งเสริมการใช้ยานพาหนะพลังงานสะอาด เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในพื้นที่ โดยปรับเปลี่ยนรถที่ให้บริการสาธารณะเป็นรถพลังงานไฟฟ้า เช่น รถบัสไฟฟ้า รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า รถยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น มีการเพิ่มทางเลือกในการเดินทางที่หลากหลายขึ้น อย่างทั่วถึงทุกพื้นที่ภายในย่าน เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางภายในพื้นที่แก่คนในชุมชน และทำให้สามารถช่วยลดอัตราการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลในพื้นที่ได้ เราจึงได้เห็นภาพนิสิตและคนในชุมชนปั่นจักรยาน นั่งรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า ที่มีให้บริการอย่างทั่วถึงง่าย ๆ ด้วยการใช้งานผ่านแอพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน หรือสนุกกับการขี่สกู้ตเตอร์ไฟฟ้าไปยังอาคารต่าง ๆ อย่างมีสไตล์
การบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญที่จะช่วยทำให้มีการหมุนเวียนของทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุด ทั้งต่อองค์กร ต่อคนในชุมชน ที่สำคัญคือต่อสิ่งแวดล้อมและโลกของเรา ดังนั้นเราจึงมีแผนการพัฒนาการจัดการทรัพยากรต่าง ๆ โดยนำร่องในด้านการจัดการขยะและการจัดการน้ำ
เราสามารถสร้างมูลค่าให้ขยะที่คนอาจจะมองว่าไร้ค่า ด้วยระบบบริหารจัดการขยะให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนผ่านหลัก “3R”
REDUCE – ลดการเกิดขยะตั้งแต่ต้นทาง
REUSE – นำมาใช้ซ้ำ
RECYCLE – แปรสภาพแล้วนำกลับมาใช้ใหม่
โดยขยะที่เรานำกลับมาบริหารจัดการมีทั้งขยะในรูปอาหาร บรรจุภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ กระดาษ ถุงพลาสติกอ่อน ไปจนถึงขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีการนำขยะกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น ขยะอาหารที่ผ่านการปรุงสุกนำไปเป็นอาหารสัตว์ และอาหารที่ยังไม่ได้ผ่านการปรุงนำไปเข้ากระบวนการ ผ่านเครื่อง BIO-DIGESTOR เพื่อเป็นปุ๋ยสำหรับใส่ต้นไม้ต่อไป ขยะรีไซเคิลถูกนำกลับไปเข้ากระบวนการแปรสภาพแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นต้น และคาดว่าในปี 2565 จะสามารถนำขยะจากอาหาร กลับมาใช้ประโยชน์ได้ถึง 80% นับเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสร้างเมืองที่สะอาดและน่าอยู่ต่อไปในอนาคต
การนำร่องพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำโดย PMCU มีนโยบายที่จะดำเนินการนำน้ำทิ้งหรือน้ำเสียจากการอุปโภคบริโภค มาบำบัดและนำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ภายในบริเวณพื้นที่สวนหลวง-สามย่าน โดยเฉพาะในส่วนที่ไม่ได้มีความต้องการน้ำที่มีคุณภาพระดับน้ำบริโภค ซึ่งปัจจุบัน PMCU ใช้น้ำประปาในการเติมน้ำ เพื่อรักษาระดับน้ำในสระและรดน้ำต้นไม้สำหรับอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ ดังนั้น จึงได้เริ่มดำเนินการนำน้ำเสียจากการใช้น้ำของผู้ที่อาศัยภายในอาคาร CU TERRACE และ CU i HOUSE กลับมาผ่านกระบวนการบำบัดน้ำเสีย และนำมาใช้ประโยชน์ในการรดน้ำต้นไม้ภายในสวนอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ ซึ่งช่วยประหยัดการใช้น้ำใหม่ได้ถึงปีละ 55 ล้านลิตร และสามารถประหยัดค่าน้ำได้ปีละประมาณ 150,000 บาท อีกทั้งยังช่วยให้ต้นไม้และพืชพรรณนานาชนิดได้เติบโตเป็นปอดของชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
การเดินทางมายังพื้นที่จุฬาฯ สามารถเดินทางได้อย่างง่ายดายผ่านระบบขนส่งมวลชน ทั้งโดยรถไฟฟ้า BTS ทั้ง 2 สาย ผ่านจุดเชื่อมต่อที่สถานีสยามสแควร์และสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ และรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีสามย่าน หรือหากจะเดินทางโดยรถประจำทาง ก็สามารถเลือกนั่งได้ถึง 30 สาย จากหลากหลายพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ
– โครงการพัฒนาระบบโครงข่ายขนส่งสาธารณะครอบคลุมพื้นที่ สามารถเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะได้ในระยะเดินเท้า 500 เมตร
– สนับสนุนให้เป็น WALKABLE CITY โดยมีโครงการขยายทางเดิน รวมถึงจัดทำ COVER WAY ครอบคลุมทั่วพื้นที่
– มีทางเลือกในการเดินทางช่วงต่อแรกและต่อสุดท้าย (First and Last mile) ด้วยพลังงานสะอาดและแบ่งปันกันใช้ไม่น้อยกว่า 5 ทางเลือก
– นโยบายส่งเสริมการลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวในพื้นที่ รวมทั้งสนับสนุนให้ใช้ยานพาหนะพลังงานสะอาด
– ภายในปี 2024 ติดตั้งสถานีชาร์จรถไฟฟ้า (EV CHARGING STATION) ครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยมีสถานีและรองรับการชาร์จรถได้ไม่น้อยกว่า 200 คัน
– ภายในปี 2027 รถประจำตำแหน่งของผู้บริหารและรถที่ใช้ในกิจการของมหาวิทยาลัย เป็น EV 100%
หากเปรียบระบบขนส่งสาธารณะเป็นเส้นเลือกใหญ่ การเดินทางช่วงต่อแรกและต่อสุดท้าย (First & Last Mile) ก็เปรียบเสมือนเส้นเลือดฝอยที่เข้าไปหล่อเลี้ยงพื้นที่ในจุดที่เข้าถึงได้ลำบาก ดังนั้น เราจึงเล็งเห็นความสำคัญในการสร้างทางเลือกในการเดินทางที่หลากหลายในพื้นที่ คนในชุมชนยังสามารถเลือกเดินทางได้อย่างหลากหลายทางเลือกตามไลฟ์สไตล์และความต้องการได้ เพื่อช่วยลดรอยต่อกับระบบขนส่งมวลชนหลัก (Seamless Transportation) ให้รองรับการเดินทางช่วงระยะเริ่มต้นและระยะสุดท้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การนั่งรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าที่สามารถกดเรียกได้ง่าย ๆ ผ่านทางโทรศัพท์มือถือเพียงคลิกเดียว หรือการได้ขี่สกู้ตเตอร์ไฟฟ้าเท่ ๆ ในการเดินทางระหว่างอาคารเรียน โดยในรูปแบบการเดินทางทั้งหมดนั้น จะเน้นการใช้งานที่สะดวกง่ายดายผ่านแอปพลิเคชั่น อีกทั้งยังเป็นการเดินทางที่ใช้พลังงานสะอาด ซึ่งจะช่วยทำให้คนในพื้นที่และคนในชุมชนสามารถลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวได้มากขึ้น สะดวกสบายมากขึ้น ประหยัดเวลามากขึ้น และยังช่วยให้มลภาวะทางอากาศลดลง การจราจรติดขัดน้อยลง และในที่สุดทำให้คุณภาพชีวิตของทุกคนในชุมชนดีขึ้น ทั้งทางด้านสุขภาพ การบริหารจัดการเวลา และด้านการเงิน จึงเรียกได้ว่า มีประสิทธิภาพสำหรับทุกคนอย่างรอบด้าน
โดยในรูปแบบการเดินทางทั้งหมดนั้น จะเน้นการใช้งานที่สะดวกง่ายดายผ่านแอปพลิเคชั่น อีกทั้งยังเป็นการเดินทางที่ใช้พลังงานสะอาด ซึ่งจะช่วยทำให้คนในพื้นที่และคนในชุมชนสามารถลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวได้มากขึ้น สะดวกสบายมากขึ้น ประหยัดเวลามากขึ้น และยังช่วยให้มลภาวะทางอากาศลดลง การจราจรติดขัดน้อยลง และในที่สุดทำให้คุณภาพชีวิตของทุกคนในชุมชนดีขึ้น ทั้งทางด้านสุขภาพ การบริหารจัดการเวลา และด้านการเงิน จึงเรียกได้ว่า มีประสิทธิภาพสำหรับทุกคนอย่างรอบด้าน
CU POP BUS รถประจำทาง ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า 100%
ลดมลภาวะทางอากาศและลดความต้องการใช้รถส่วนตัวในพื้นที่
Muvmi รถตุ๊กๆ พลังงานไฟฟ้า แบบ Sharing
เรียกใช้งานผ่านแอปพลิเคชั่น ในราคาสบายกระเป๋า
สถานีชาร์จรถไฟฟ้าภายในพื้นที่
ส่งเสริมการใช้ยานยนต์พลังงานไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
Haupcar รถยนต์ไฟฟ้าให้เช่าแบบแบ่งปันกันใช้
ลดมลภาวะ ลดปัญหาด้านการจราจรในพื้นที่
การแบ่งปันการเดินทางของชาวจุฬาฯ
ในคอนเซ็ปต์ “ทางเดียวกัน ไปด้วยกัน”
พื้นที่สวนหลวง-สามย่าน ประกอบไปด้วยอาคารสถานีไฟฟ้าย่อย (Substation) 2 สถานี คือ สถานีปทุมวัน และสถานีสามย่าน ดังนั้น จึงมั่นใจได้ว่าในพื้นที่จะมีพลังงานไฟฟ้าเพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ ยังมีโครงการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) บนหลังคาตลาดสามย่าน หลังคา Block 28 และลานจอดรถหมอน 28 เพื่อใช้ในพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งเป้าหมายรวมกำลังการผลิตครอบคลุมทั้งพื้นที่ 13 MW ภายในปี 2021
สยามสแควร์ โฉมใหม่ “ไร้สาย” กับโครงการนำสายสื่อสารและสายไฟลงใต้ดิน ย่านการค้าใจกลางเมืองกับทัศนียภาพที่สวยงาม พร้อมความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ ด้วยความร่วมมือกับการไฟฟ้านครหลวง และพันธมิตรด้านโทรคมนาคม
เมื่อก้าวเท้าเข้ามาภายในพื้นที่ของจุฬาฯ และพื้นที่ของย่านโดยรอบ เราแทบจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามองไปตรงไหนก็จะเห็นงานศิลปะในรูปแบบต่าง ๆ กระจายอยู่ทั่วทั้งพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นผลงานศิลปะ Street Art เท่ ๆ ใจกลางเมือง โดยศิลปินระดับโลกทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติกว่า 50 ชีวิต ที่มาร่วมกันสะท้อนแนวความคิดที่สร้างสรรค์ และถ่ายทอดเรื่องราว วิถีชุมชนภายในย่านผ่านกำแพงอาคารต่าง ๆ อย่างสวยงามและสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการ “Chula Art Town” ทั้งหมด 47 จุด ทั่วพื้นที่สยามสแควร์และสามย่าน และยังสามารถอ่านเรื่องราวของภาพได้แบบสมาร์ท ผ่านการสแกน QR Code ในภาพนั้น หรือแม้กระทั่ง “ฝาท่อ” หรือ “ทางม้าลาย” ยังเป็นพื้นที่ที่สามารถถ่ายทอดศิลปะเพื่อเล่าเรื่องราวสนุก ๆ ได้เลย โดยในอนาคตจะมีงานประติมากรรมในรูปแบบดิจิทัลที่เจ๋งสุด ๆ เรียกได้ว่าหาดูได้ยากมาอีกมากมายภายในพื้นที่กว่า 16 ชิ้น ภายใต้โครงการ “Day & Night Digital Art Park” ซึ่งเราเชื่อว่า Street Art ภายในย่าน เป็นเหมือนพื้นที่แสดงงานศิลปะกลางแจ้งชั้นดี ที่ทุกคนในชุมชนสามารถเข้าถึงได้ โดยเราจะเห็นภาพคนมากมายพากันมาถ่ายรูปเช็คอินตามภาพต่าง ๆ เพื่อแชร์ลงบนสื่อโซเชียล นอกจากจะให้ความเพลิดเพลินจากการเสพศิลป์แล้ว ยังช่วยทำให้ธุรกิจของร้านค้าในละแวกคึกคักและขายดีขึ้นตามไปด้วย เรียกได้ว่าเกื้อหนุนคนในชุมชนได้อย่างแท้จริง
เมื่อก้าวเท้าเข้ามาภายในพื้นที่ของจุฬาฯ และพื้นที่ของย่านโดยรอบ เราแทบจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามองไปตรงไหนก็จะเห็นงานศิลปะในรูปแบบต่าง ๆ กระจายอยู่ทั่วทั้งพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นผลงานศิลปะ Street Art เท่ ๆ ใจกลางเมือง โดยศิลปินระดับโลกทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติกว่า 50 ชีวิต ที่มาร่วมกันสะท้อนแนวความคิดที่สร้างสรรค์ และถ่ายทอดเรื่องราว วิถีชุมชนภายในย่านผ่านกำแพงอาคารต่าง ๆ อย่างสวยงามและสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการ “Chula Art Town” ทั้งหมด 47 จุด ทั่วพื้นที่สยามสแควร์และสามย่าน และยังสามารถอ่านเรื่องราวของภาพได้แบบสมาร์ท ผ่านการสแกน QR Code ในภาพนั้น หรือแม้กระทั่ง “ฝาท่อ” หรือ “ทางม้าลาย” ยังเป็นพื้นที่ที่สามารถถ่ายทอดศิลปะเพื่อเล่าเรื่องราวสนุก ๆ ได้เลย โดยในอนาคตจะมีงานประติมากรรมในรูปแบบดิจิทัลที่เจ๋งสุด ๆ เรียกได้ว่าหาดูได้ยากมาอีกมากมายภายในพื้นที่กว่า 16 ชิ้น ภายใต้โครงการ “Day & Night Digital Art Park” ซึ่งเราเชื่อว่า Street Art ภายในย่าน เป็นเหมือนพื้นที่แสดงงานศิลปะกลางแจ้งชั้นดี ที่ทุกคนในชุมชนสามารถเข้าถึงได้ โดยเราจะเห็นภาพคนมากมายพากันมาถ่ายรูปเช็คอินตามภาพต่าง ๆ เพื่อแชร์ลงบนสื่อโซเชียล นอกจากจะให้ความเพลิดเพลินจากการเสพศิลป์แล้ว ยังช่วยทำให้ธุรกิจของร้านค้าในละแวกคึกคักและขายดีขึ้นตามไปด้วย เรียกได้ว่าเกื้อหนุนคนในชุมชนได้อย่างแท้จริง
สตรีทอาร์ตใจกลางเมือง ที่สะท้อนภาพวิถีชีวิตชุมชน
ให้เป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่ทุกคนเข้าถึงได้
(ดูข้อมูลเพิ่มเติม)
การใช้ศิลปกรรมและการออกแบบเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต
ชุมชนสามย่านและสวนหลวงอย่างยั่งยืน
(ดูข้อมูลเพิ่มเติม)
โครงการประกวด การออกแบบลวดลาย
บนฝาท่อ Fiber Optic Cable ของสยามสแควร์
(ดูข้อมูลเพิ่มเติม)
สร้างทัศนวิสัยที่ดี เป็นประโยชน์แก่ผู้ขับขี่
และการมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สังคมที่น่าอยู่
(ดูข้อมูลเพิ่มเติม)
พื้นที่ปล่อยไอเดียของคนสร้างสรรค์
กับตลาดสินค้าดีไซน์ไม่ซ้ำใคร
(ดูข้อมูลเพิ่มเติม)
นอกจากนั้น ภายในย่านยังมีพื้นที่แสดงศิลปะ หรือ Art & Gallery ที่เปิดให้คนในชุมชนหรือประชาชนทั่วไปได้เข้ามาชมอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น “CU ART4C” ที่เป็นศูนย์แสดงผลงานศิลปะและแหล่งเรียนรู้สร้างสรรค์ โดยคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ PMCU และ CU Innovation Hub เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มนิสิตได้มีพื้นที่ในการฝึกฝนทักษะ และทำงานร่วมกับคนในชุมชนและสาธารณะได้จริง และได้ให้ชุมชนรอบ ๆได้มีพื้นที่แสดงศิลปะและประสานงานระหว่างศิลปินจากทั่วทุกมุมโลก ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ เพื่อสืบทอดความรู้ อนุรักษ์เชิงศิลปะ เป็นการคืนกำไรให้สังคมอย่างแท้จริง นอกจากนั้นยังมี “FAAMAI DOME – Digital Arts Hub” ที่เป็นโดมแห่งงานศิลปะดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แสดงศิลปะสมัยใหม่ที่สร้างกิจกรรมในชุมชน และยังใช้เป็นศูนย์ปฏิบัติการเพื่อสร้างองค์ความรู้ ยกระดับ พัฒนาศักยภาพของบุคลากรไทยให้ก้าวไกลอีกด้วย
นอกจากนั้น ภายในย่านยังมีพื้นที่แสดงศิลปะ หรือ Art & Gallery ที่เปิดให้คนในชุมชนหรือประชาชนทั่วไปได้เข้ามาชมอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น “CU ART4C” ที่เป็นศูนย์แสดงผลงานศิลปะและแหล่งเรียนรู้สร้างสรรค์ โดยคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ PMCU และ CU Innovation Hub เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มนิสิตได้มีพื้นที่ในการฝึกฝนทักษะ และทำงานร่วมกับคนในชุมชนและสาธารณะได้จริง และได้ให้ชุมชนรอบ ๆได้มีพื้นที่แสดงศิลปะและประสานงานระหว่างศิลปินจากทั่วทุกมุมโลก ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ เพื่อสืบทอดความรู้ อนุรักษ์เชิงศิลปะ เป็นการคืนกำไรให้สังคมอย่างแท้จริง นอกจากนั้นยังมี “FAAMAI DOME – Digital Arts Hub” ที่เป็นโดมแห่งงานศิลปะดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แสดงศิลปะสมัยใหม่ที่สร้างกิจกรรมในชุมชน และยังใช้เป็นศูนย์ปฏิบัติการเพื่อสร้างองค์ความรู้ ยกระดับ พัฒนาศักยภาพของบุคลากรไทยให้ก้าวไกลอีกด้วย
ศูนย์แสดงผลงานศิลปะและแหล่งเรียนรู้สร้างสรรค์
ที่ให้กลุ่มนิสิตได้มีพื้นที่ในการฝึกฝนทักษะและทำงานร่วมกับชุมชน
(ดูข้อมูลเพิ่มเติม)
โดมแสดงศิลปะสมัยใหม่ที่สร้างกิจกรรมในชุมชน
เป็นศูนย์ปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรไทย
(ดูข้อมูลเพิ่มเติม)
เมื่อมีผลงานศิลปะหลากหลายแขนงเกิดขึ้นภายในย่าน การดูแลและจัดเก็บผลงานศิลปะก็เป็นส่วนสำคัญที่จะมาเติมเต็มให้เกิดความสมบูรณ์ครบวงจร โดยมี “JWD Art Space” ที่เป็นครั้งแรกในไทยที่โลกศิลปะได้หลอมรวมเข้ากับพื้นที่โลจิสติกส์อย่างลงตัว เป็นศูนย์รวมที่สุดแห่งการให้บริการจัดเก็บงานศิลปะและบริการที่เกี่ยวข้อง มีการออกแบบอย่างพิถีพิถันและใส่ใจโดยผู้เชี่ยวชาญ สามารถเก็บผลงานทางศิลปะได้กว่า 1,000 ชิ้น
ศูนย์รวมที่สุดแห่งการให้บริการจัดเก็บงานศิลปะ
และบริการที่เกี่ยวข้องอย่างครบวงจร
(ดูข้อมูลเพิ่มเติม)
พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียน
ของผลงานศิลปะแขนงต่าง ๆ
(ดูข้อมูลเพิ่มเติม)
พื้นที่แห่งการเรียนรู้สมัยใหม่ เป็นสื่อกลางในการสร้างกิจกรรม
ที่ส่งเสริมให้เกิดความหลากหลายเชิงความคิด
(ดูข้อมูลเพิ่มเติม)
Let Your Story
Inspires Our Community
(ดูข้อมูลเพิ่มเติม)
CO-WORKING SPACE บนพื้นที่ สวนหลวง-สามย่าน ทางเลือกใหม่ของคนทำงาน กับพื้นที่นั่งทำงานให้บริการเพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์สำหรับกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ต้องที่ทำงานแบบ flexible space มีให้เลือกหลายสไตล์มากกว่า 30 ร้าน ที่จะทำให้วันทำงานของคุณสนุกขึ้น จุดประกายความคิดสร้างสรรค์ในตัว อาทิ Tuspark Block 28 (ติดตลาดสามย่าน) , ART4C Café (ถนนพระราม 4 หลังสามย่านมิตรทาวน์) , ร้าน EATTENTION please! (อีทเท็นชั่น พลีส) (จุฬาฯ ซอย 50) และยังมีร้านอื่น ๆ ให้บริการอีกมากมายเลยทีเดียว
ขึ้นชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยอันดับต้นของประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่ใช่เพียงให้ความสำคัญกับการศึกษาภายในห้องเรียน หรือการให้ความรู้กับนิสิตและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ยังเล็งเห็นถึงความสำคัญในการให้โอกาสบุคลากร คนในชุมชนรอบ ๆ พื้นที่ และประชาชนทั่วไปได้เข้าถึงองค์ความรู้รอบด้าน ทั้งจากการได้เข้าถึงหนังสือดี ๆ ครบครันทุกองค์ความรู้ ภายในหอสมุดจุฬาฯ ทั้งหมด 42 ห้องสมุดเล็กใหญ่ทั่วทั้งมหาวิทยาลัย หรือจากแพลตฟอร์ม E-Learning ในโครงการ “CHULA MOOC” ที่มีคณาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ และกูรูในด้านต่าง ๆ ที่เข้ามาแบ่งปันความรู้รอบด้านในหัวข้อความรู้ต่าง ๆ ที่สามารถสมัครและเข้ามาเรียนรู้ได้ตลอดทุกที่ทุกเวลาที่สะดวก เสมือนเป็นการเรียนแบบ On-demand สุดทันสมัย นอกจากนั้น ทาง PMCU ยังได้พัฒนาพื้นที่สร้างโอกาสในการเรียนรู้สำหรับคนทุกเพศทุกวัย ที่เรียกว่า “L.A.M.P @ Siamscape” ในโครงการพัฒนาใหม่ SIAMSCAPE พื้นที่ใจกลางเมืองสยามสแควร์ที่เป็นพื้นที่เปิดให้คนในชุมชน นักเรียน นักศึกษา และคนทำงานในย่าน ได้มีพื้นที่สบาย ๆ ในการพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเข้ามาเปิดรับนวัตกรรมใหม่ๆที่น่าสนใจหมุนเวียนไปตลอดทั้งปี
แพลตฟอร์ม E-Learning
ที่ทุกคนสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ตลอดทุกที่ทุกเวลา
(ดูข้อมูลเพิ่มเติม)
พื้นที่สร้างประสบการณ์การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์
สำหรับคนทุกเพศทุกวัย ใจกลางสยามสแควร์
(ดูข้อมูลเพิ่มเติม)
เพราะเราเชื่อว่า “คน” นั้นสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนชุมชนให้ก้าวหน้าไปพร้อมกัน เราจึงต้องการสนับสนุนทุกคนที่ต้องการเข้ามาใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่นี้ ให้มีความสุขมากที่สุด ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างปัจจัยพื้นฐานด้านการดำเนินชีวิตที่ใคร ๆ สามารถเข้าถึงได้ เช่นในด้านอาหาร นอกจากที่เราจะสามารถเลือกทานร้านอาหารสุดฮิป คาเฟ่สุดเก๋มากมายที่อยู่ภายในย่าน แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังมีอาหารสตรีทฟู้ดสุดอร่อยในตำนานอีกมากมาย ตลอดเส้นบรรทัดทองและทั่วทั้งย่านสวนหลวง-สามย่านที่ขึ้นชื่อ นอกจากรสชาติจะถูกปากจนหลาย ๆ คนต้องเดินทางมาพิสูจน์ความอร่อยแล้ว ยังจ่ายในราคาประหยัดอีกด้วย
ทาง PMCU มีนโยบายในการสร้างโครงการที่พักอาศัยราคาเข้าถึงง่ายให้แก่นิสิต นักศึกษา และบุคลากรในชุมชน ซึ่งถึงแม้ว่าจะตั้งอยู่บนพื้นที่ทำเลทองใจกลางเมือง อันจะเห็นคอนโดมากมายบนถนนใกล้เคียงที่มีราคาแพงลิ่ว แต่เราเล็งเห็นว่าที่พักอาศัยควรเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ใคร ๆ ก็สามารถเข้าถึงได้ง่าย มีความเป็นธรรม และมีมาตรฐานที่ดี จึงเป็นที่มาของหลายโครงการที่กำลังจะเกิดขึ้นเช่น แฟลตที่พักตำรวจ แฟลตที่พักของสถานีดับเพลิง หอพักนักศึกษา เป็นต้น รวมถึงสนับสนุนให้สามารถเดินทางสัญจรไปมาภายในพื้นที่ได้อย่างสะดวกสบายและประหยัด ด้วยบริการขนส่งต่าง ๆ เพื่อเป็นสวัสดิการแก่คนในชุมชน เช่น รถประจำทาง EV Shuttle Bus หรือรถจักรยาน CU Bike เป็นต้น
Police & Firefighter Flat / Unit Staff / Student Resident
EV Shuttle Bus / CU Bike
ถนนที่ส่งเสริมให้เมืองเดินได้เดินดี นำร่องบนถนน 100 ปี จุฬาฯ (ซอยจุฬา 5) โดยมีพื้นทางเท้าและพื้นที่สีเขียวข้างทางรวม 10 เมตร มีบรรยากาศร่มรื่น ช่วยส่งเสริมการเดินออกกำลังกาย มีความสะดวกปลอดภัย ทำให้มีความสุข ทุกย่างก้าว
ย่านสตาร์ทอัพแห่งใหม่ใจกลางเมือง ที่มีคอนเซปต์เป็น SANDBOX เชื่อมต่อทุกไลฟ์สไตล์ของคนสร้างสรรค์ และเป็น community ที่ช่วยส่งเสริมนวัตกรรมและการเชื่อมโยงทางธุรกิจ เกิดเป็น Eco-System ของธุรกิจสตาร์ทอัพ และเป็นแหล่งที่รวบรวมเหล่า สตาร์ทอัพ ที่ประสบความสำเร็จในหลากหลายแขนง สร้างประโยชน์ให้กับหลายวงการที่กำลังจะเป็นตัวขับเคลื่อนความเจริญทางธุรกิจของประเทศ ทั้งทางการแพทย์ การเงิน การศึกษา ฯลฯ
รวมถึง TusPark WHA ศูนย์บ่มเพาะนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการพัฒนาสตาร์ทอัพ อีกทั้งยังมีพื้นที่ CO-WORKING SPACE ให้บริการ เพื่อตองสนองไลฟ์สไตล์สำหรับกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ต้องที่ทำงานแบบ flexible space
และโครงการ BLOCK28 ยังมีร้านอาหารต่าง ๆ ที่มีคาแลคเตอร์ชัดเจน ผ่านการคัดสรรมาเป็นอย่างดี รวมกันอยู่ที่โครงการแห่งนี้อีกด้วย
การพัฒนาเมืองนั้นสำคัญต่อชุมชนมากเพียงใด การมีส่วนร่วมของชุมชนจึงมีความสำคัญด้วยมากเช่นนั้น PMCU จึงมีวิสัยทัศน์ในการสร้างโอกาสในการร่วมมือกันพัฒนาย่าน โดยนอกจากจะทำงานร่วมกับคนภายในชุมชนในโครงการต่าง ๆ มากมาย ทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแล้ว ยังมีอีกหลากหลายโครงการที่ได้ดำเนินงานร่วมมือกับองค์กรท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนมากมาย เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกให้กับย่านนี้
เช่น โครงการ “สยามสแควร์โฉมใหม่ ไร้สาย” ที่ร่วมกับการไฟฟ้านครหลวงและพันธมิตรด้านโทรคมนาคมอย่าง บจก. ทรู อินเตอร์เน็ต คอร์ปอเรชั่น นำสายสื่อสารและสายไฟลงใต้ดิน ที่นำร่องโครงการในปี 2563 และขยายผลไปยังพื้นที่สวนหลวง-สามย่าน ซึ่งนอกจากจะให้ความสวยงามแก่ทัศนียภาพแล้ว ยังสร้างความปลอดภัยและเสถียรภาพของกระแสไฟฟ้าที่มากขึ้นอีกด้วย นอกจากนั้น ยังมีโครงการจัดระเบียบหาบเร่แผงลอย ร่วมกับเทศกิจ เพื่อเป็นการสร้างพื้นที่ที่เหมาะสมให้แก่พ่อค้าแม่ค้าภายในย่านได้สามารถค้าขายได้อย่างมีระเบียบ สามารถหารายได้อย่างยั่งยืน และเอื้อต่อการใช้ชีวิตและการสัญจรของคนในชุมชนมากยิ่งขึ้นอีกด้วย และยังมีอีกหลากหลายโครงการที่ร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อสร้างคุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นให้กับคนในชุมชนหลากหลายรูปแบบ เช่น การติดตั้งหลังคาโซล่าร์ (Solar Roof) โครงการสถานีพลังงานอัจฉริยะ โครงการฟรี Wi-Fi ในพื้นที่ โครงการรีไซเคิลและบำบัดน้ำเสีย โครงการตรวจวัดคุณภาพอากาศ โครงการ Zero Waste เป็นต้น
ร่วมกับการไฟฟ้านครหลวง
และ บริษัท ทรู อินเตอร์เน็ต คอร์ปอเรชั่น จำกัด
ร่วมกับบริษัท อิมแพค โซล่าร์ กรุ๊ป
และบริษัท อิตัลไทยวิศวกรรม จำกัด
ร่วมกับศูนย์บริการสาธารณสุข 5 จุฬาลงกรณ์
และสำนักงานเขตปทุมวัน
ร่วมกับบ้านสุขภาพ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ร่วมกับผู้ค้าในชุมชน
ร่วมกับ
สำนักงานเขตปทุมวัน
ในยุคที่การสื่อสารและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า เชื่อมให้คนได้สามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดายและทั่วถึงมากขึ้น ทาง PMCU จึงมีนโยบายในการเดินหน้าสู่ “Open-minded City” หรือเมืองที่เปิดกว้างทางความคิด ซึ่งนอกคนในชุมชนจะมีพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็น คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ หรือร่วมกับพัฒนาเมืองแห่งนี้ไปด้วยกันอย่างทันสมัย ผ่านช่องทางออนไลน์ หรือการแสดงความคิดเห็นผ่าน QR Code เสมือนได้ส่งข้อความส่งตรงถึงผู้บริหาร อันจะส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการตัดสินใจ ร่วมตรวจสอบ และเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาโครงการต่าง ๆ ไปด้วยกัน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสิ่งที่ดีที่สุดต่อชุมชนและสังคม
นอกจากนั้น คนทั่วไปยังสามารถเข้าถึงข้อมูลในการดำเนินงานต่าง ๆ ขององค์กรในรูปแบบ OPEN DATA ที่เป็นการเปิดเผยข้อมูลให้บุคคลภายนอกองค์กรได้เข้าถึงอย่างเสรีไม่มีข้อจำกัด เพื่อความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนและสตาร์ทอัพต่าง ๆ สามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปวิเคราะห์ เพื่อปรับปรุง แก้ไข และพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ มาช่วยในการขับเคลื่อนเมือง ขับเคลื่อนชุมชน ธุรกิจในพื้นที่ไปข้างหน้า และยังช่วยในการเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนได้อีกด้วย